พิมพ์
Posted on: ตุลาคม 22, 2016, by : adminของรูปดินให้ เคลือบผิวหนาพอประมาณ พอเป็นที่สังเกต สำหรับการยั้งมือเพื่อจะต่อยพิมพ์ออกภายหลัง จากนั้นผสมปูนทับอีกชั้นหนึ่งให้หนาเท่าระดับแนวสังกะสีที่กั้นแบ่งไว้ ตัดเหล็กขนาด ๔-๕ หุน หรือแป๊ปขนาด ๑-๑.๕๐ นิ้ว ให้โค้งตามรูป เสริมยึดปูนให้แข็งแรง จุดที่เหล็กพาดทับกันยึดด้วยใยกากมะพร้าวชุบปูนอีกชั้นหนึ่ง (หากเป็นชิ้นใหญ่ให้ไฟฟ้าเชื่อมเป็นจุดๆ) พร้อมกับใช้แป๊ปทำคํ้ายันกันพิมพ์ล้มเมื่อจะเปิดพิมพ์ภายหลังด้วย เมื่อปูนแข็งตัวแล้ว เปิดพิมพ์ โดยใช้เครื่องมือควักดินออกจนหมด ตัด Cross และเหล็กที่เสริมภายในออก เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการควักดิน
นำพิมพ์ที่เปิดแล้วมาวางนอน หนุนด้วยอิฐหรือไม้เพื่อกันพิมพ์ล้มหรือแบะออก ทิ้งให้ปูนหมาดประมาณสองวัน แล้วเริ่มทำปูนผิวโดยทานํ้าสบู่ให้พิมพ์อิ่มตัว ใช้เแปรงซับให้แห้ง แล้วทาด้วยสบู่นํ้ามัน (คือสบู่ที่เคี่ยวกับนํ้ามันมะพร้าว) บางๆ ลงในพิมพ์เพื่อเป็นตัวหล่อลื่นกันไม่ให้พิมพ์ติดกันซับให้หมาดแล้วลงปูนผิว การใส่ปูนใส่ให้ทั่วรูปให้มีความหนา เท่าๆ กัน เมื่อครั้งแรกหมาดแล้วใส่ครั้งที่สองทับลงไปอีก โดยตัดกระสอบโปร่งชิ้นสี่เหลี่ยม เล็กๆ กรุทับหลังปูนผิวลงไปด้วยเพื่อช่วยยึดปูน ตัดเหล็กตามรูปภายในใส่ตลอดรูป ไล้ปูนทับพร้อมกับวางใยมะพร้าวช่วยยึดอีกชั้นหนึ่ง เหล็กจะช่วยยึดให้รูปแข็งแรงไม่ทรุดเมื่อเวลาต่อยพิมพ์ออก จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งแล้วยกรูปขึ้นตั้งบนแผ่นไม้เรียบเพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย แล้วจึงเลาะพิมพ์ออก โดยตัดเหล็กที่ยึดแนวรอบนอกออกทั้งหมดให้เหลือแต่ วพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ ใช้ค้อนไม้และสิ่วต่อยพิมพ์ โดยเคาะเปิดในส่วนเล็กๆ ด้านบนสุด ก่อน เพื่อให้เกิดการ crack ตัว ร่อนออกได้ง่าย เมื่อถึงปูนผิวสีเหลืองพิมพ์จะร่อนออกทั้งเปลือก เหลือแต่รูปแบบปูนปลาสเตอร์ภายในเท่ากับรูปจริงที่ปั้นไว้ การทำพิมพ์ในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าพิมพ์ต่อย หรือพิมพ์ทุบ ประติมากรจะตกแต่งอีกครั้งด้วยการเน้น รายละเอียดที่ตองการให้ชัดเจนจนแล้วเสร็จ จากนั้นจึงนำไปทำพิมพ์ชิ้น เพื่อดำเนินการบุขี้ผึ้งต่อไป
เสียบสังกะสีกั้นแบ่งแนวเพื่อทำพิมพ์ สลัดปูนสีใส่ผิวของรูปดิน