ปั้นพระพุทธรูป
Posted on: ตุลาคม 22, 2016, by : adminภายในด้วยไม้เป็นชั้นๆ ลักษณะคล้ายรูปกล่องเพื่อรองรับ Contour วาง Contour ลงเป็นช่วงๆ ห่างกันช่วงละ ๓๐ เซนติเมตร ผูก Cross (ไม้กากบาท) ภายในเพื่อช่วยยึดดิน ใส่กระถางดินเผาเสริมลงไป เพื่อช่วยให้รูปดินมีนํ้าหนักเบาและไม่เปลืองดิน จากนั้นจึงอัดดินเหนียวที่ได้ทำการนวดแล้ว อย่างดีลงให้เต็มรอบ Contour ปั้นและตกแต่งรูปดินให้มีลักษณะเหมือนรูปต้นแบบจนเสร็จ เรียบรัอยเพื่อใช้ทำพิมพ์ต่อไป
โครงสร้างภายในของพระเศียร
ขึ้นดิน แต่งรูปดิน
ฉีดน้ำรักษารูปดินและคลุมด้วยพลาสติคเมื่อเสร็จงานปั้นในแต่ละวัน
แต่งรูปดินจนมีลักษณะเหมือนรูปต้นแบบ
การทำพิมพ์ พิจารณากำหนดเส้นแบ่งแนวกึ่งกลางพระเศียรโดยตลอดเพื่อกั้นทำพิมพ์ ๒ ซีกพร้อมกับกำหนดส่วนที่จะเปิดเพื่อควักดินออกภายหลังด้วย โดยทั่วไปจะใช้ด้านทายทอยเป็นส่วนเปิด เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่มีรายละเอียดและซอกมุมมากเช่นด้าน พระพักตร์ เสียบลังกะสีอย่างบางที่ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ลงตามแนวที่กำหนด แล้วเริ่มทำผิวปูนชั้นแรก โดยละลายสีฝุนเหลืองในนํ้า ดูไให้เข้มจนเกินไป ตักน้ำสีใส่ภาชนะเคลือบ กะปริมาณตามขนาดของงานที่จะทำ แล้วโรยปูนปลาสเตอร์ลงผสม ใช้มือตีคนให้ปูนกับนํ้าสีละลายให้เข้ากันมากที่สุดเพื่อไล่ฟองอากาศออกให้หมด สลัดปูนสีใส่ผิว